ความรู้ที่ได้รับ
1.ความหมายและความสำคัญของภาษา
2.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
3.ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
4.วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
5.นักศึกษาทางด้านภาษา
6.องค์ประกอบของภาษา
7.หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษา
และได้ทำงานกันเป็นทีม คือคุณครูสั่งงานในแต่ละหัวข้อ เช่นกลุ่มดิฉันคือ ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา และนำเสนอในอาทิตย์ที่ 3 และในแต่ละกลุ่มจะต้องพรีเซ่นด้วย
สัปดาห์ที่ 2 ไม่มีการเรียนการสอนเพราะเป็นวันรับน้องใหญ่ของมหาลัย
ส่วนสัปดาห์ที่ 4 คือ กลุ่มที่ค้างการนำเสนอจะต้องมานำเสนอ และให้บอกของรักของหวง หรือ ตามที่แต่จะแถวได้รับคำสั่งจากอาจารย์
อาทิตย์ที่ 5 คืออาจารย์ให้หาเพลงกล่อมเด็กของแต่ละภาคมาพร้อมทั้งลงในบล็อก
สัปดาห์ที่ 6 คือ ให้นำเสนอเพลงกล่อมเด็กบางคนเท่านั้น และสั่งงานกลุ่ม คือ ทำสมุดภาพ เช่น อะไรคือเครื่องใช้ไปฟ้า เช่น ตู้เย็น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าและให้หาเพลงมา 1 เพลง พร้อมกับบอกวัตถุประสงค์ของเพลง แล้วฟังเพลงแล้วรู้สึกอย่างไร เพลงที่ฟังนั้นนำไปใช้ในช่วงจังหวะใดได้บ้าง
สัปดาห์ที่ 7 เป็นการสอบกลางภาค
สัปดาห์ที่ 8 มีการสอนเพลง และให้คิดคำ เช่นคำว่า ตาข่าย ที่นำรูปตา มาแล้วคำหลังเป็นคำว่าข่าย เท่ากับตาข่าย
สัปดาห์ที่ 9 อาจารย์โบแบ่งกลุ่มให้แต่ละกลุ่มทำงานที่ได้รับมอบหมาย เช่นกลุ่มของพวกเราทำธงอาเซียน
สัปดาห์ที่ 10 คือ มีการสอนทฤษฎี และมีการลงมือทำสื่อ คือ ทำป็อบอัพที่สามารถตั้งได้
ครั้งที่ 11 มีการทำเกมการศึกษากลุ่มละ 5 คนให้บอกว่าเชื่องโยงกับนักทฤษฏีคนใด พร้อมบอกวิธีการเล่น ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ พร้อมทั้งนำเสนอตอนท้ายคาบกลุ่มพวกเราทำเกมลูกเต๋าผสมสระ
สัปดาห์ที่ 12 อาจารย์โบให้เพลงครอบครัวกระต่ายพร้อมท่าเต้นต่อด้วยบรรยายในห้องพร้อมทั้งให้คัดลายมือตามตัวอย่ง
สัปดาห์ที่ 13 ให้ทำมุมตามจินตนาการ กลุ่มละ 5-6 คน กลุ่มฉันทำมุมข้าว
สัปดาห์ที่ 14 อาจารย์โบนำวีดีโอจากโทรทัศน์ครูมาให้ดู เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์จัดการเรียนรู้ทางภาษา จากนั้นก้ให้คิดหน่วยการเรียนรู้กลุ่มละ 1 หน่วย กลุ่มพวกเราทำเรื่องลักษณะของกระต่าย
สัปดาห์ที่ 15 อาจารย์โบว์ให้ทำแม็บความรู้จากสิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้
สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนทั้ง 15 สัปดาห์ได้ทั้งความรู้จากทฤษฎี และการปฏิบัติ สามารถทำไปปรับใช้ในวิชาชีพต่อไปในอนาคตได้ อาทิเช่น การจัดมุมเพื่อให้ความรู้แก่เด็ก เช่นมุมข้าว เราสามารถนำเมล็ดข้าวพร้อมด้วยป้ายชื่อมาติดไว้ เพื่อให้เด็กได้จำ และต่อไปเด็กจะสามารถจำคำเหล่านั้นได้ และบอกได้ว่าคำนั้นคือข้าว หรือแม้กระทั้งหน่วยการเรียนรู้ ที่เราสามารถคิดและวางแผนการเรียนการสอนได้เป็อย่างดี สามารถทำสื่อมาสอนเด็กได้เหมาะกับแต่ละโอกาสเช่น ธงอาเซียน หรือ บัตรคำที่สามารถตั้งได้ เช่นหน่วย กระต่าย ทำบัตรคำทั้งหน้าและหลังเขียนเป็นภาษาไทยว่ากระต่าย และด้านหน้าเขียนเป็น RABBIT เด็กจะได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผ่านการจดจำ เมื่อเด็กเห็นครั้งต่อไปก้จะบอกได้ว่าคำที่เขียนแบบนี้คือคำว่าอะไร อีกทั้งเกมส์การศึกษาที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ หรือแม้กระทั้งการคัดลายมือ เด็กในวัยนี้จะมีการคัดลายมือ เขาจึงต้องมีตัวแบบที่ดี ที่ถูกต้องจากครู อีกทั้งเพลงที่ได้มาจำนวนมาก สามรถนำไปเก็บเด็ก และนำไปเกริ่นการเข้าบทเรียนได้เป็นอย่างดี หรือ แม้กระทั้งเพลงกล่อมเด็กสามรถนำไปร้องให้เด็กฟังได้ หรือแม้การคิดคำให้เด็กช่วยกันคิดวเคราะห์จากภาพได้อย่างสนุกสนาน